Share

ไฟแช็กซิปโป้ได้เริ่มผลิตเป็นครั้งแรกเมื่อปลายปี ค.ศ.1932 เป็นต้นมา รุ่นโมเดลแรกเรียกว่ารุ่น Phantom Zippo ที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าและมีความสูงกว่ารุ่นปกติประมาณ 1/4 นิ้ว และมีบานพับแบบ 3 ข้ออยู่ด้านนอกตัวถัง
ในปีถัดมาได้ทำการตัดให้สั้นลง แต่ยังคงมีลักษณะเป็นเหลี่ยมมุมฉาก 90 องศา และมีบานพับอยู่ด้านนอกเหมือนเดิม โดยยังเป็นแบบเรียบๆ ไม่มีลวดลายอะไร
ในปี 1934 เริ่มมีการทำลวดลายเล็กน้อยที่มุมบนขวาและมุมซ้ายล่างเป็นเส้นแทยงมุมคู่ และในปี 1935 นั้นจึงเริ่มทำการแกะและติดลวดลายที่เป็นโลโก้ เครื่องหมายการค้า ชื่อย่อ ลงบนตัวตลับไฟแช็ก ตามคำสั่งของลูกค้า
ปี 1936 ได้ทำการย้ายขาของบานพับจากด้านนอกเข้ามาไว้ในตัวถังด้านใน เหลือเพียงแต่ข้อบานพับเท่านั้นที่สามารถมองเห็นได้จากด้านนอก และใช้มาจนทุกวันนี้
ปี 1937 เริ่มนำวัสดุทองเหลืองมาทำตัวถัง และปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ให้มีความมนขึ้น คล้ายๆรุ่นปัจจุบัน
ปี 1939 เป็นครั้งแรกที่ทำตัวถังจากทองคำ 14K และในปี 1941 ถึง1943 ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของตัวถังเล็กน้อย ทำให้มีความรู้สึกแปลกๆเล็กน้อย ในช่วงนั้นทองเหลืองและโครมเกิดขาดแคลน จึงจำเป็นต้องใช้เหล็กที่มีรูพรุนเล็กๆ Porous Steel มาทำเป็นตัวถัง และได้เพ้นท์ด้วยสีดำแบบหยาบๆ (Black Crackle) และเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในหมู่ทหารอเมริกัน
(ยังมีต่ออีกครับ เดี๋ยวจะมาเพิ่มเติมให้อีกวันหลังครับ)
ช่วงแรกของการผลิตตั้งแต่ปี ค.ศ.1932 ถึง 1957 ยังไม่มีการระบุปีที่ผลิตอย่างแน่ชัด แต่สามารถจำแนกได้โดยดูจาก แบบ และโมเดล ที่ผลิต รวมทั้ง หมายเลข แพเท้นท์ (PATENT = PAT. และ PATENT PENDING = PAT. PEND.) ที่ระบุไว้ที่ก้น
หลังจากนั้นช่วงประมาณกลางทศวรรษ 1950 ทางผู้ผลิตได้เริ่มนำสัญลักษณ์ ต่างๆ มากำหนดปีที่ผลิต เพื่อจุดประสงค์หลักคือการควบคุมคุณภาพการผลิต ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาสัญลักษณ์ต่างๆเหล่านั้นจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับนักสะสม ในเวลาต่อมา
สำหรับตราสัญลักษณ์ (โลโก้) ของซิปโป้ก็เป็นรายละเอียดที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับกำหนดปีที่ผลิตด้วย โดยมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญอยู่ 3 ครั้ง คือ ช่วงแรก ระหว่างปี 1933 ถึงช่วงกลางทศวรรษ 1950 จะใช้โลโก้ที่เป็นตัวหนังสือพิมพ์ใหญ่ (BlockLetter) “ZIPPO” หลังจากนั้นในช่วงที่สอง ประมาณปี ค.ศ.1955 จึงเปลี่ยนมาใช้ โลโก้แบบลายเซ็น (เป็นตัวเขียน) และใช้โลโก้แบบนี้จนกระทั่่งปลายทศวรรษ 1970 และได้เปลี่ยนมาใช้ตราสัญลักษณ์ (โลโก้) แบบที่ใช้ในปัจจุบัน ที่ตัว Z และตัว I ติดกัน มี่รูปไฟเล็กๆ บนตัว I (ไอ) ตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 เป็นต้นมา
ตารางเปรียบเทียบเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อจำแนกปีที่ผลิต
ปีที่ผลิต
|
ขนาดมาตรฐาน
ด้านซ้าย
|
ขนาดมาตรฐาน
ด้านขวา
|
ขนาดสลิม (เล็ก)
ด้านซ้าย
|
ขนาดสลิม (เล็ก)
ด้านขวา
|
1933-1936

|
PAT. PENDING ขนาดตัวหนังสือจะค่อนข้างใหญ่
|
|
|
1937-1941


|
PAT. 2032695 หากเป็นรุ่น Black Crackle จะเป็น PAT. 203695 ขนาดของตัวหนังสือจะมีทั้งเล็กและใหญ่ แตกต่างกันไปแต่จะเป็นเส้นบางๆ
|
|
|
1942-1946


|
เป็นรุ่นที่่บางส่วนพิมพ์หมายเลขผิด พิมพ์เป็น PAT. 203695 ซึ่งความจริงแล้วต้องพิมพ์ PAT. 2032695 และเส้นของตัวหนังสือจะค่อนข้างหนากว่ารุ่นก่อนๆ
|
|
|
1947-1948

|
PAT. 2032695 เส้นและขนาดของตัวหนังสือจะเหมือนรุ่นปี 1946
|
|
|
*1949-1957


|
PAT. 2032695 หรือ PAT.2517191 และ PAT.PENDING
|
|
|
*ในช่วงระหว่างปี 1949-1957 เป็นช่วงที่มีความสับสนอยู่ค่อนข้างมาก ซึ่งไม่สามารถระบุปีที่ผลิตที่แน่ชัดจากก้นของไฟแช็คเพียงอย่างเดียวได้ ไฟแช็คที่ผลิตช่วงระหว่างปี 1955-1957 บางส่วนก็มีการระบุปีที่ผลิตโดยใช้สัญลักษณ์ จุด เป็นตัวบอกปีที่ผลิต บางตำราก็บอกว่าแบบ PAT.2032695 นั้นได้ผลิตถึงเดือนกรกฎาคม ปี 1953 โดยที่ระหว่างปลายปี 1951ถึง กรกฎาคม 1953 นั้นจะใช้ตัวหนังสือที่บางลงกว่ารุ่นปี 1946-1950 และได้เปลี่ยนเป็น PAT.2517191 กับ PAT.PEND. หลังจากนั้นมา และยังมีการเปลี่ยนแปลงโลโก้เป็นแบบลายเซ็นต์ในช่วงกลางทศวรรษนี้อีกด้วย ซึ่งการระบุปีที่ผลิตนั้นยังสามารถแยกได้ตามลักษณะภายนอก วัสดุที่นำมาผลิต หรือแม้กระทั่งบานพับ ซึ่งจะกล่าวต่อไปภายหลัง อย่างไรก็ตามการระบุปีผลิตที่แน่ชัดได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการในปี 1959
|
*1951-1957


|
PAT.2517191
|
|
|
1957
|
. . . . . . . .
|
. . . .
|
. . . .
|
1958

|
PAT.2517191
|
. . . .
|
. . . .
|
. . . .
|
. . . .
|
. . . .
|
. . .
|
1959

|
. . . .
(. . .)
|
. . .
(. . . .)
|
. . .
|
. . .
|
1960

|
. . .
|
. . .
|
. . .
|
. .
|
1961

|
. . .
|
. .
|
. .
|
. .
|
1962

|
. .
|
. .
|
. .
|
.
|
1963

|
. .
|
.
|
.
|
.
|
1964

|
.
|
.
|
.
|
|
1965

|
.
|
|
|
|
1966

|
I I I I
|
I I I I
|
I I I I
|
I I I I
|
1967


|
I I I I
|
I I I
|
I I I I
|
I I I
|
1968

|
I I I
|
I I I
|
I I I
|
I I I
|
1969


|
I I I
|
I I
|
I I I
|
I I
|
1970

|
I I
|
I I
|
I I
|
I I
|
1971

|
I I
|
I
|
I I
|
I
|
1972

|
I
|
I
|
I
|
I
|
1973

|
I
|
|
I
|
|
1974

|
/ / / /
|
/ / / /
|
/ / / /
|
/ / / /
|
1975

|
/ / / /
|
/ / /
|
/ / / /
|
/ / /
|
1976

|
/ / /
|
/ / /
|
/ / /
|
/ / /
|
1977

|
/ / /
|
/ /
|
/ / /
|
/ /
|
1978

|
/ /
|
/ /
|
/ /
|
/ /
|
1979

|
ในปี 1979 มีการผิดพลาดในการลดขีด / (Code Error) ซึ่งปกติจะต้องลดจากทางด้านขวาก่อนแล้วค่อยมาลดด้านซ้าย ความจริงแล้วควรจะเป็น ซ้าย / / ขวา / แต่กลับเป็น ซ้าย / ขวา / / แต่อย่างไรก็ตามได้มีการแก้ไขให้ถูกต้องภายในปีเดียวกัน รุ่นนี้จึงเป็นอีกรุ่นหนึ่งที่นักสะสมนิยม และในปีถัดมา ผู้ผลิตได้ยกเลิกโลโก้แบบลายเซ็นต์ และเปลี่ยนโลโก้ใหม่ ที่มีตัว Z กับตัว I ติดกัน แล้วมีรูปเปลวไฟเล็กอยู่บนตัว I แทน และใช้โลโก้ใหม่นี้มาจนถึงปัจจุบัน
|
1980

|
/
|
/
|
/
|
/
|
1981

|
/
|
|
/
|
|
1982

|
\ \ \ \
|
\ \ \ \
|
\ \ \ \
|
\ \ \ \
|
1983

|
\ \ \ \
|
\ \ \
|
\ \ \ \
|
\ \ \
|
1984

|
\ \ \
|
\ \ \
|
\ \ \
|
\ \ \
|
1985

|
\ \ \
|
\ \
|
\ \ \
|
\ \
|
1986
|
\ \
|
\ \
|
\ \
|
\ \
|
ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 1986 เป็นต้นมาระบบการใช้สัญลักษณ์แบบลดขีด ได้ถูกเปลี่ยนใหม่โดยการใช้ตัวเลขแบบโรมันแทนปีที่ผลิต และตัวอักษร A-L แทนเดือนที่ผลิต ตัวอย่างเช่น A = มกราคม B = กุมภาพันธ์ เป็นต้น
|
1986

|
G – L
|
II
|
G – L
|
II
|
1987

|
A – L
|
III
|
A – L
|
III
|
1988

|
A – L
|
IV
|
A – L
|
IV
|
1989

|
A – L
|
V
|
A – L
|
V
|
1990


|
A – L
|
VI
|
A – L
|
VI
|
1991

|
A – L
|
VII
|
A – L
|
VII
|
1992

|
A – L
|
VIII
|
A – L
|
VIII
|
1993

|
A – L
|
IX
|
A – L
|
IX
|
1994

|
A – L
|
X
|
A – L
|
X
|
1995

|
A – L
|
XI
|
A – L
|
XI
|
1996

|
A – L
|
XII
|
A – L
|
XII
|
1997

|
A – L
|
XIII
|
A – L
|
XIII
|
1998

|
A – L
|
XIV
|
A – L
|
XIV
|
1999

|
A – L
|
XV
|
A – L
|
XV
|
2000


|
A – L
|
2000
XVI
|
A – L
|
2000
XVI
|
ในช่วงต้นปี 2000 ได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยการนำโลโก้มาไว้ด้านซ้าย ย้ายรหัสเดือนไว้ตรงกลาง และตัวเลข 2000 อยู่เหนือตัวเลขโรมัน ไว้ทางด้านขวามือแทน และหลังจากนั้นในปี 2001 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันได้เปลี่ยนวิธีดูปีที่ผลิตเป็นแบบที่เข้าใจง่ายกว่า โดยที่ยังใช้ตัวหนังสือ A-L สำหรับบอกเดือนและไว้ทางด้านซ้าย แต่เปลี่ยนรหัสบอกปีที่ผลิตจากตัวเลขโรมันมาเป็นตัวเลขอารบิคแทนโดยตัดตัวเลขสองตัวหน้าของปีออกไป เช่น ปี 2001 จะใช้แค่ 01 เท่านั้น
|
2001
|
A – L
|
01
|
A – L
|
01
|
2002
|
A – L
|
02
|
A – L
|
02
|
2003
|
A – L
|
03
|
A – L
|
03
|
2004
|
A – L
|
04
|
A – L
|
04
|
2005
|
A – L
|
05
|
A – L
|
05
|
2006
|
A – L
|
06
|
A – L
|
06
|
2007
|
A – L
|
07
|
A – L
|
07
|
2008
|
A – L
|
08
|
A – L
|
08
|
2009
|
A – L
|
09
|
A – L
|
09
|
2010
|
A – L
|
10
|
A – L
|
10
|
ข้อมูลจาก http://www.zippoclick.com/collecting/dateCodes.aspx
ภาพประกอบจาก http://www.zippostone.com/idcode.htm
และ หนังสือ Zippo Collection Manual เล่ม 1 และ 5 โดย Kesaharu Imai
|


ลักษณะของก้นซิปโป้รุ่นใหม่ๆ
จากข้างบนตัวแรกถึงตัวที่ 3 เรียกว่าแบบก้นตัน เพราะว่าที่ก้นจะไม่มีขอบ และจะเรียบเสมอกันหมด แต่อันบนสุดเป็นของญี่ปุ่น (Japanese Model) อันที่สองเป็นก้นของรุ่น Armor และอันที่ 3 เป็นก้นของแบบที่เป็นทองเหลือง (Brass)
ส่วนอันล่างสุดเป็นก้นของรุ่นธรรมดาทั่วไปที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วโลก สังเกตุดูดีดีจะมีขอบสูงขึ้นมา เลยทำให้ตูดมันบุ๋มลงไป
ข้อสังเกต 5 ประการ ของซิปโป้ปลอม
เมื่อก่อนนี้การจำแนกความแตกต่างระหว่างซิปโป้ของแท้และของปลอมอาจจะดูได้ค่อนข้างง่าย เพราะพวกของปลอมจะไม่ค่อยกล้าใช้โลโก้ของซิปโป้ ปั๊มไว้ที่ก้น หรือบางรายอาจจะใช้ชื่อที่ดูคล้ายๆ กับ Zippo เช่น Zippy, Zippu หรือ Zipo เป็นต้น อย่างนี้อาจจะเรียกได้ว่าของเลียนแบบ แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไปวิธีการเลียนแบบได้ถูกพัฒนาขึ้นจนผลิตออกมาได้ใกล้เคียงกับของแท้ ดังนั้นหลายคนที่ไม่รู้จึงต้องเสียเงิน โดยเฉพาะเสียความรู้สึกให้กับของปลอมลอกเลียนแบบ
หลังจากที่สมาชิกและผู้สนใจหลายๆ ท่าน ต้องการทราบว่า การดูซิปโป้ของแท้และของปลอมนั้นแตกต่างกันอย่างไร วันนี้ผมจะนำความแตกต่างเหล่านั้นมาแฉให้ทราบกัน แต่ที่นำมาให้ดูนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น เพราะในความเป็นจริงแล้ว พวกที่ผลิตของปลอมและเอามาขายนั้นมีหลายเจ้า แต่ละเจ้าก็จะผลิตแตกต่างกันไป บางเจ้างานก็จะหยาบจนสามารถสังเกตได้ง่ายๆ แต่บางเจ้าก็สามารถทำได้ใกล้เคียงกับของแท้มาก
ตัวอย่างที่นำมาเปรียบเทียบให้ดูในคราวนี้คือรุ่นยอดนิยม โมเดล #200 Brushed Chrome ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด ผลิตมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พื้นผิวด้านหน้าจะออกเป็นลายคล้ายการขัดด้วยแปรงตามแนวขวาง สีเงินด้านๆ ส่วนด้านข้าง บน และล่าง จะเป็นสีเงินขัดเงา (รุ่นที่นำมาเปรียบเทียบให้ดูนี้ผลิตในปี 2000 ซึ่งอาจจะมีความแตกต่าง จากรุ่นที่ผลิตก่อน และหลังจากนี้ บางตำแหน่ง)
ของปลอม ของแท้
จุดสังเกตที่ 1 บนตัวถังด้านนอก

บนตัวถังด้านนอกของไฟแช็กซิปโป้แท้จะมีความเนียนเรียบ เวลาเอามือลูบจะไม่มีความสากมือ ถึงแม้จะเป็นรุ่น Brushed Chrome ก็ตาม ส่วนของปลอมนั้นจะมีความสากมือมาก เมื่อเอาเล็บมือขูดจะเป็นคล้ายๆ ตะไบขัดเล็บเลย ส่วนที่มุมด้านบนของของปลอมก็จะมีความโค้งของมุมแตกต่างกันกับของแท้ (ตามรูป)
จุดสังเกตที่ 2 ตัวถังด้านใน

ตัวถังด้านในของของแท้จะใช้โลหะสีเงินมาทำหมุดลูกเบี้ยวและหมุดเฟืองล้อจุดประกายไฟ ตัวถังจะเป็นสีเงินธรรมชาติของโลหะ ไม่มีการชุบโครเมี่ยมเพื่อให้เกิดความเงาเกินจริง ลายเส้นของตัวหนังสือจะบางๆ เล็กๆ แต่มีความคมชัด และไม่ปั๊มจนลึก การเชื่อมต่อจะเชื่อมด้วยความปราณีต ส่วนตัวหนังสือที่ปั๊มของแต่ละปีที่ปลิตก็จะมีความแตกต่างกันไป ของเก่าๆ จะไม่มีการระบุปีที่ผลิต แต่สามารถแยกได้ตาม แบบของตัวหนังสือ ส่วนของที่ค่อนข้างใหม่ หรือของใหม่จะมีการระบุปี หรือเดือนที่ผลิตด้วย ซึ่งปีและเดือนที่ผลิตของตัวถังด้านนอกและตัวถังด้านในอาจจะคลาดเคลื่อนกันได้เล็กน้อย (ไม่เกิน 1-2 ปี) ตัวถังด้านในของไฟแช็กซิปโป้รุ่นใหม่ๆ จะมีแถบนูนๆ ในส่วนล่างๆ ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวถังด้านในหลุดออกมาง่าย และตัวหนังสือจะพิมพ์ให้อ่านตามแนวเวลาไฟแช็กตั้งขึ้น ไม่ใช่แนวนอนตามภาพประกอบ
จุดสังเกตที่ 3 แผ่นสักหลาดอัด

ไฟแช็กซิปโป้ของแท้แผ่นสักหลาดอัดจะมีความหนามาก หนาประมาณ 7 มิลลิเมตร ในรุ่นใหม่ๆ จะมีพิมพ์คำว่า LIFT TO FILL จำนวน 3 บรรทัด ไว้ทั้ง 2 ด้านด้วย (ข้อควรระวัง ของปลอมบางเจ้าก็อาจจะมีพิมพ์ตัวอักษรนี้เหมือนกันได้ แต่ความหนาของแผ่นสักหลาดอัด จะมีความแตกต่าง)
จุดสังเกตที่ 4 ชุดสปริงดันถ่าน

ชุดสปริงดันถ่านของแท้ที่ปลายของสปริงจะมีก้อนโลหะทองเหลืองที่มีขนาดใกล้เคียงกันถ่านซิปโป้ของแท้ เรียกว่าปลายสปริงดันถ่านที่มีความยาวประมาณ 4 มิลลิเมตรติดที่ปลายสปริง โดยที่ชิ้นส่วนนี้จะมีการคลอนไปมาแต่จะไม่หลุดออกจากตัวสปริงง่ายๆ ส่วนของสกรูยึดสปริงดันถ่านนั้น จะทำมาจากทองเหลืองเช่นกันและมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหัวสกรูประมาณ 6.5 มิลลิเมตร โดยมีเกลียวอยู่ประมาณ 5-6 เกลียว
จุดสังเกตที่ 5 การปั๊มตราที่ก้นไฟแช็ก

การปั๊มตราที่ก้นของไฟแช็กซิปโป้ของแท้ โลโก้ Zippo จะปั๊มคมชัดและพื้นในของตัวหนังสือจะเรียบ ไม่มีลายเส้นใดๆ ในตัวหนังสือ
นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดอื่นๆ อีก ที่จะระบุว่าเป็นของแท้หรือของปลอม แต่เนื่องจากตัวข้าพเจ้าไม่ได้เก็บซิปโป้ของปลอมจึงไม่สามารถนำมาให้ดูได้หมด แต่ทั้งนี้ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า ถ้าหากคุณเคยใช้ซิปโป้ของแท้มาก่อน ประสบการณ์ที่คุณได้ใช้จะเป็นเครื่องช่วยบอกคุณได้ดีที่สุดว่าอันไหนของแท้ อันไหนของปลอม เวลาที่คุณได้สัมผัสก็จะรู้ในทันทีโดยไม่ยาก
ETAN 18/12/2006
How to spot a fake? Basically we divide the non-authentic Zippo lighters into two different categories: Fakes and lookalikes . A lookalike is quite easy to spot. Although the design might look identical to an authentic Zippo at first glance, the lighter is not called a "Zippo". There are numerous variants out there; Zippu, Zipo, Oppiz, Champ, Zeppo, Zuppo, Star ++ Although they all might look like real Zippos you can be pretty sure they all suffer from significantly poorer quality than an authentic.
A fake on the other hand is far more difficult to identify since the lighter is passed on as an authentic baring the Zippo name and comes in a "official" Zippo box with identical stickers and even dating inscriptions on the bottom of the case. That said, if you know what to look for, spotting a fake should rarely be a problem.
|
|
a) Overall cheaper material. When compared with an authentic the Rippo will most likely weigh less.
b) The cutout in the lid to fit the hinges are too big leaving an empty gap of space.
c) The joints in the hinges are often smaller than on the original.
d) The flint wheel rivet has wrong color - rusty red - due to use of copper material.
e) The cam rivet has wrong color - rusty red - due to use of copper.
f) It's either rusty red (copper), or too shiny.
g) The screw attached to the flint spring is too small.
h) If the flint is red, it's a fake.
i) The impression on the bottom of counterfeit lighter is more shallow and often with an incorrect code. On some fakes it says: "Bradford RA, instead of PA.
j) The felt pad is of poor quality and lack the refill hole (on current models). The felt pad lack the imprinted "lift to refill".
|
สมัครสมาชิกชมรมซิปโป้แห่งประเทศไทย
คลิกที่นี่
http://www.zippadeedoo.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=378472&Ntype=1